การจัดการผ้า และสิ่งทอ สำหรับ โรงแรม
การจัดการผ้า และสิ่งทอ สำหรับ โรงแรม
ประเภทของผ้าและสิ่งทอตามการควบคุมสต๊อก
โดยทั่วไปแผนกแม่บ้าน จะแบ่งผ้า เป็น 3 ประเภท คือ
1. ผ้าและสิ่งทอที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ( Daily Re-Used Inventory) : หมายถึง ผ้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้แต่ต้องเปลียนทุกครั้งที่ใช้งาน เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดเท้า เสื้อคลุมอาบน้ำ เป็นต้น
2.ผ้าและสิ่งทอที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และไม่ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง( Period Re-Used Inventory) : หมายถึง ผ้าที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนทุกครั้ง เช่น ผ้าม่านหน้าต่าง ม่านห้องน้ำ ผ้าระบายเตียง ผ้ารองกันเปื้อน ใส้ผ้านวม หมอน เป็นต้น
3.ผ้าและสิ่งทอที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ( Non-Re-Used Inventory) : หมายถึง ผ้าใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น รองเท้าสลิปเปอร์ใช้แล้วทิ้ง วัสดุสิ้นเปลือง ผ้ากันเปื้อนใช้แล้วทิ้ง หมวกคลุมผม ปลอกหมอนใช้แล้วทิ้ง ผ้าคลุมฝาชักโครก ถุงมือ เป็นต้น
ผ้าและสิ่งทอประเภทต่าง ๆ สำหรับโรงแรม
สามารถแบ่งได้ เป็น 7 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มเครื่องนอน เช่น ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนหนุน ปลอกหมอนข้าง ปลอกผ้านวม เป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Daily Re-Used Inventory
2.กลุ่มหมอนหนุน หมอนข้าง หมอนอิง เบาะรองที่นอน( Bed-Topper) ใส้ผ้านวม ผ้ารองกันเปื้อน ผ้าคลุมเตียง ผ้าห่ม ผ้าระบายเตียงเป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Period Re-Used Inventory
3.กลุ่มเสื้อคลุมอาบน้ำ รองเท้าสลิปเปอร์เนื้อผ้า เป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Daily Re-Used Inventory
4.กลุ่มผ้าขนหนู เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดผม ผ้าเช็ดเท้า เป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Daily Re-Used Inventory
5.กลุ่มผ้าบนโต๊ะอาหาร ห้องครัวและจัดเลี้ยง เช่น ผ้าเช็ดแก้ว ผ้าเช็ดปาก ผ้าปูโต๊ะ ผ้ากันเปื้อน ผ้าคาดโตีะ เป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Daily Re-Used Inventory
6.กลุ่มผ้าม่าน เช่น ผ้าม่านหน้าต่าง ม่านห้องน้ำ ผ้าคลุมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Period Re-Used Inventory
7.กลุ่มผ้าและสิ่งทอที่ใช้ครั้งเดียว เช่น รองเท้าสลิปเปอร์ใช้แล้วทิ้ง วัสดุสิ้นเปลือง ผ้ากันเปื้อนใช้แล้วทิ้ง หมวกคลุมผม ปลอกหมอนใช้แล้วทิ้ง ผ้าคลุมฝาชักโครก ถุงมือ เป็นต้น จัดเป็น วัสดุประเภท Non-Re-Used Inventory
Par Level คืออะไร ?
คือ ระดับจำนวนวัสดุผ้าและสิ่งทอ ที่แผนกแม่บ้านจำเป็นต้องมีไว้ในสต๊อก เพื่อใช้งานประจำวัน จำนวนจะแตกต่างกัน ระหว่าง Daily Re-Used Inventory, Period Re-Used Inventory และ Non-Re-Used Inventory ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกันกับแผนกอื่น เช่น แผนกซักรีด อัตราเข้าพัก เป็นต้น
การสร้างระบบ Par Level สำหรับผ้าและสิ่งทอประเภทต่างๆ
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการ กำหนดค่า Par Level คือ 1.ประเภทผ้า 2.ความเพียงพอสำหรับการใช้งาน 3.ระบบหมุนเวียนของการซักรีด 4.เหตุการณ์ฉุกเฉิน 5.อัตราการเข้าพักสูงสุด ระดับ Par Level ที่ต่ำเกินไป อาจทำให้การดำเนิงานของโรงแรมสะดุดได้ เกิดความไม่พึงพอใจของแขกได้ แต่ การมี ระดับ Par Level ที่สูงเกินไปจะทำให้ต้องลงทุนกับผ้าสูงเกินความจำเป็น ข้อเสนอแนะ สำหรับผ้าประเภทต่างๆ
1. ผ้าและสิ่งทอ ประเภท Daily Re-Used Inventory : อาจกำหนดค่า Par Level เป็น "Two Par Of Linen"( 2 Pars) หมายถึง จำนวนผ้าแต่ละชนิดที่เพียงพอสำหรับการใช้งานสองครั้ง หรือ สองรอบ การกำหนดแค่ 1 Par อาจไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินงาน
2.ผ้าและสิ่งทอ ประเภท Period Re-Used Inventory : ไม่จำเป็นที่จะต้องมีค่า Par Level ที่สูง ให้เน้น การดูแลประจำวัน อาจกำหนดค่า Par Level เป็น "1.5 Par Of Linen"( 1.5 Pars) หมายถึง จำนวนผ้าแต่ละชนิดที่เพียงพอสำหรับการใช้งานเพียงพอสำหรับห้องพักแขกทุกห้อง และมีสำรองสำหรับเหตุฉุกเฉินเล็กน้อย
3.ผ้าและสิ่งทอประเภท Non-Re-Used Inventory : ควรกำหนดเป็นค่าสต๊อก ให้เพียงพอสำหรับประวัติการใข้ของแขก และสำรองกรณีเหตุฉุกเฉิน
ตัวอย่าง : การคำนวณ King -Sized Sheets สำหรับโรงแรมที่มีแผนกรีด และ ใช้ Sheet 2 ชิ้นในการปูเตียงแต่ละครั้ง มีเตียงทั้งหมด 300 เตียง
1 Par สำหรับห้องพักแขก = 1 X 600 = 600 ชิ้น
1 Par สำหรับห้องเก็บผ้า = 1 X 600 = 600 ชิ้น
1 Par สำหรับผ้าสกปรกในแผนกซักรีด = 1 X 600 = 600 ชิ้น
1 Par สำหรับผ้าที่เอาไว้ทดแทน = 1 X 600 = 600 ชิ้น
1 Par สำหรับเหตุการณืฉุกเฉิน = 1 X 600 = 600 ชิ้น
อย่างไรก็ตาม นี้เป็นเพียงข้อเสนอะแนะเท่านั้น การกำหนดค่า Par Level ควรกำหนดจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น และ ขึ้นกับนโยบายของแต่ละโรงแรมด้วย
การควบคุมผ้าและสิ่งทอประเภทต่างๆ
ผู้จัดการแผนกแม่บ้าน ควรกำหนดกระบวนการในการควบคุมผ้า ให้ชัดเจน รวมทั้งผู้รับผิดชอบและผู้ควบคุมผ้า
1.การเก็บผ้า ( Storage ) : ระบบหมุนเวียนผ้า เริ่ม ห้องพักแขก ----เก็บผ้าไปซัก----ห้องซักรีด---ส่งผ้าเข้าห้องเก็บผ้า------ห้องเก็บผ้าใหญ่---- -เบิกจ่ายผ้า-----ห้องพักแขก หมุนเวียนกันไป ควรเก็บผ้าไว้ในห้องเก็บผ้าอย่างน้อย 24 ชม.ก่อนใช้ เพื่อยืดอายุผ้าและให้รอยย่นคืนตัว ควรเก็บผ้าในห้องที่แห้งปราศจากความชื้น วางในชั้นเบิกจ่าย และสะดวก ในการควบคุม
2.การจ่ายผ้า ( Issuing ) : ควรสร้างระบบ เบิกจ่ายผ้า ด้วยระบบ บาร์โค๊ต หรือ ซอฟแวร์แอปพลิเคชั่น ถ้าหากมีงบประมาณเพียงพอ หากไม่มีงบประมาณ ให้ใช้ ระบบ Check Sheet เบิก-จ่ายแทน ควรทำระบบ Fi-Fo (เข้าก่อน-ออกก่อน) เพื่อควบคุมจำนวนเข้าและออกที่ชัดเจน จะได้้้้้้้ตรวจสอบจำนวนผ้าที่ถูกต้อง
3.ขั้นตอนพิเศษสำหรับผ้าที่ชำรุด : ผ้าที่ชำรุดจะจัดแยกต่างหาก ติดป้าย แสดง ชนิดผ้า ลักษณะการชำรุด จากที่ใด ผู้ตรวจสอบ รวมทั้งวิธีที่จะต้องจัดการผ้าชิ้นนั้น เช่น ซ่อม ยกเลิกการใช้ ซื้อใหม่ทดแทน หรือให้ใช้ต่อไป เป็นต้น ควรจัดทำ Check Sheet เพื่อควบคุม
4.ผ้าที่ใช้ในแผนกอาหารและเครื่องดื่ม : ควรมีการควบคุมเหมือนผ้าที่ใช้ในห้องพักสามารถ สร้างระบบ Par Level ได้เช่นกัน โดยวางระบบเช่นเดียวกับผ้าสำหรับห้องพัก
บริษัท คริสตัล โปรดักส์ จำกัด สงวนสิทธิ ห้ามคัดลอก ไปเผยแพร่ เพื่อการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาต
2.เครื่องนอน โรงแรม-ฺHotel Bed Linen
4.รองเท้าสลิปเปอร์ โรงแรม-Hotel Slipper
5.เสื้อคลุมอาบน้ำ โรงแรม-Hotel Bathrobe
6.ผ้าขนหนู โรงแรม-Hotel Terry Bath Towel
7.ผ้าบนโต๊ะอาหาร โรงแรม : Hotel Table Linen
8.ม่านกั้นเตียงผู้ป่วย : Cubicle Curtain
9.ผ้าม่าน โรงแรม-Hotel Curtain